top of page

โครงการปลูกป่า

ภาพกิจกรรม ปลูกป่าเทิดพระเกียรติ ในวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2556 ที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า อุทยานสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัด กาญจนบุรี 

                                                                                                                    

             เนื่องด้วย ปัจจุบันโลก กำลังเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือที่เรียกว่า สภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีผลกระทบกับวิถีชีวิตของมนุษย์ อาทิ เกิดความแห้งแล้ง มีไฟไหม้ป่า ฝนตกไม่ตรงฤดูกาล อากาศหนาว และหิมะตกในประเทศที่ไม่เคยมีหิมะตก เป็นต้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าของมนุษย์ ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงได้ร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขภาวะโลกร้อน

ต้นจาจุรีเหลือง(ตะคึก)

ตะคึก : Albizia   Benth

ชื่ออื่น: 

 พฤกษ์,ถ่อน,ถ่อนนา,ซึก,ตะคึก),กะซึง , กาแซ ,กาไพ ,จามจุรีสีทอง, เจร ,มะขามโคก,มะรุมป่า

ประเภท 

 ผักพื้นบ้าน

ลักษณะทั่วไป

 ลักษณะทรงต้นคล้ายต้นจามจุรี สูงประมาณ 15-25 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาเข้ม ผิวขรุขระมักแตกเป็นร่อง เปลือกในมีสีแสด ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อยเรียงสองแถวตามก้านแกนหลักยาวประมาณ 20 ซม. ใบใหญ่เรียงสลับอยู่บนแขนง ส่วนใบย่อยมีรูปร่างรีขอบขนานติดตรงข้างเป็นคู่ 8-9 คู่ โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนเล็กน้อย ดอก คล้ายกับดอกจามจุรี มีสีเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มี เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก และจะงอกยาวพ้นกลีบดอกออกมา มีลักษณะเป็นพู่กลม เมื่อพู่ยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีขาว ผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง

การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ: 

 ยอดอ่อนเป็นผักพื้นบ้าน เมล็ด จะมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อัลบิจินิคแอซิค (Albiginic acid) ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน เรื้อน และโรคเยื่อตาอักเสบ เปลือกลำต้น มีสาร แทนนิน (Tannin) และซาโปนิน (Saonin) ซึ่งมีสรรพคุณใช้รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือก ฟัน ริดสีดวงทวาร โลหิตตกใน แก้โรคบิด ท้องเสีย

ต้นตะเคียนทอง

ตะเคียนทอง Hopea odorata Roxb.

ประเภท :

 ไม้ยืนต้น

ลักษณะทั่วไป 

ตะเคียนทองเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 20 - 40 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลมหรือรูปเจดีย์ต่ำ ๆ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นสีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลแดง

                   ใบ  เป็นชนิดใบเดี่ยวรูปไขแกมรูปหอกหรือรูปดาบ ขนาด 3 – 6 x 10 - 15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีคุ่มคอมเมเซียเกลี้ยง ๆ อยู่ตามง่ามแขนงใบ เส้นแขนงใบมี 9 - 13 คู่ ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน

                   ดอก  สีขาว มีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อยาวๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอก ก้านดอกและกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่ม กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบโคนกลีบเชื่อมติดกัน

                   ผล  กลมหรือรูปไข่เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 ซม. ปียาว 1คู่ รูปใบพาย ปลายปีกกว้างค่อยๆ เรียวสอบมาทางโคนปีก เส้นปีกตามยาวมี 7 เส้น ปีกสั้นมีความยาวไม่เกินความยาวตัวผล

การใช้ประโยชน์/สรรพคุณ:

      1.  เปลือก ใช้ต้มกับเกลืออมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท และต้มกับน้ำ        

           ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง    

      2.  แก่น  ใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย

      3.  ดอก  เข้าอยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ใช้ผสมยาทิพย์เกสร

      4.  ยาง  ใช้ผสมน้ำมันทารักษาบาดแผล

      5.  ชัน  ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือ และทำน้ำมันชักเงา

ประโยชน์ของต้นไม้
1.ต้นไม้จะ ช่วยคายออกซิเจนในช่วงกลางวัน ทำให้เราได้อากาศบริสุทธิ์ ซึ่งการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ มีผลดีต่อสุขภาพ ของเรา
2. ช่วยดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
3. เป็นร่มเงา บังแสงแดด ให้เกิดความร่มรื่น
4. เป็นที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า
5. พืช ผล สามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร หรือ ยารักษาโรคได้
6. เป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธาร เนื่องจากที่บริเวณราก ที่ดูดซับน้ำ และ แร่ธาตุ เป็นการกัก เก็บน้ำไว้บริเวณผิวดิน
7. บริเวณรากของต้นไม้ ที่ยึดผิวดิน ทำให้เกิดความแข็งแรงของบริเวณผิวดินป้องกันการพัง ทลายจากดินถล่ม เนื่องจากมีรากเป็นส่วนยึดผิวดินอยู่ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การสาธิต การนำหญ้าแฝกมาประยุกต์ ป้องกันการพังทลาย ของหน้าดิน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระปรีชา สามารถของพระมหากษัตริย์ ประเทศของเรา
8. เป็นแนวป้องกัน การเกิดน้ำท่วม เนื่องจาก เมื่อเกิดสภาพที่น้ำเกินสมดุล ท่วมลงมาจากยอดเขา จะมีแนวป่า ต้นไม้ ช่วยชะลอความแรง จากเหตุการณ์น้ำท่วม
9. ลำต้น สามารถ นำมาแปรรูปทำประโยชน์ ต่างๆ เช่น บ้านเรือน ที่พักอาศัย สะพาน เฟอร์นิเจอร์ เรือ 
10. การปลูกต้นไม้ เป็นการผ่อนคลายความเครียดได้อย่างหนึ่ง 
11. เมื่อเจริญ สามารถนำไปขายได้ราคา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
12 ต้นไม้ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อบรรดาสัตว์ป่า เป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศวิทยา

Latest Projects

bottom of page